เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย มรดกไทยที่เป็นมากกว่าเพลง
“ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย(…)”
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราๆท่านๆนั้น คุ้นเคยกับข้อความข้างต้นเป็นอย่างดี เพราะเป็นสัญญาณหนึ่งที่เตือนให้เราทราบว่า ได้เวลาหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เพื่อยืนตรงเคารพธงชาติ ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติที่และหลายๆคนคงสงสัยกันว่า เพราะเหตุใด ประเทศไทยถึงกำหนดให้มีการเคารพธงชาติ และร้องเพลงชาติไทยวันละสองเวลา และเพราะเหตุใด เราจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ของประเทศไทยไว้ไม่ให้สูญหายไป

เพลงชาติไทย สัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศ
เพลงชาติไทยฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน ได้ถือกำเนิดขึ้นในพุทธศักราช 2482 ซี่งเป็นปีที่ประเทศสยาม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย” รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพลป.พิบูลสงคราม จึงประสงค์ที่จะให้มีการปรับเปลี่ยนเพลงชาติ เพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องหมายของการพัฒนาทั้งทางสังคมและทางวัฒนธรรมของประเทศ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในแนวทางการหล่อหลอมคนไทยให้รู้สึกรักชาติ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐบาลจึงได้กำหนดให้มีการประกวดการแต่งเพลงชาติไทยขึ้น และในการแข่งขันครั้งนี้ เนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่งประกวดในนามของกองทัพบก เป็นบทประพันธ์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงประกาศให้บทประพันธ์นี้ เป็นเพลงชาติไทย โดยมีการการแก้ไขเล็กน้อยก่อนถูกใช้มาจนถึงทุกวันนี้
ทำไมต้อง 8.00น. กับ 18.00น.
แนวปฏิบัติในการเคารพธงชาติแบบที่เราคุ้นเคยกันนั้น ได้ถูกเริ่มบังคับใช้ราวปี 2485 โดยเป็นส่วนหนึ่งในแผนการรณรงค์เพื่อความเป็น”ชาตินิยม”ของคนไทย ของจอมพลป.พิบูลสงคราม โดยกำหนดให้มีการเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย ในสถานศึกษาและสถานที่ราชการวันละสองเวลา เพื่อแสดงเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย และมอบหมายให้สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานหลักในการเทียบเวลาและเปิดเพลงชาติไทยทางวิทยุและโทรทํศน์
ต่อมาในปี 2519 รัฐบาลสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีการเชิญธงชาติขึ้นเสาเวลา 8.00น. และเชิญธงลงเวลา 18.00น. โดยให้สถานีวิทยุกระจายเสียงฯเป็นผู้เทียบเวลาเช่นเดิม และนับแต่วันนั้น ประเทศไทยจึงมีการเคารพธงชาติวันละสองเวลาจนถึงปัจจุบัน

เพลงชาติไทย มรดกชิ้นสำคัญของคนไทย
นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเทศแล้ว เพลงชาติไทย ยังเป็นแหล่งความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาทางสังคมและการปกครองของชาติ เพราะ “รัฐนิยม” ที่มีการรณรงค์ในสมัยของจอมพลป.พิบูลสงครามนั้น ส่งผลให้คนไทยเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และสามารถผลักดันประเทศให้ก้าวหน้าได้ จึงถือได้ว่า เพลงชาติไทย เป็นอีกหนึ่งรากฐานความเจริญของไทยในทุกวันนี้

เมื่อทราบกันแล้วว่า เพลงชาติไทย ที่เราๆท่านๆรู้จักกันเป็นอย่างดีนั้น เป็นมากกว่าเพลงที่เราได้ยินวันละสองหน เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ ไว้ เพื่อให้ลูกหลานรุ่นของเรา ได้เรียนรู้ความเป็นมาของสังคมไทยต่อไป

ความพิถีพิถันในการประพันธ์เพลงชาติไทย

logo3
เพลงชาติไทย มีประวัติความเป็นมายาวนานมากและได้รับการประพันธ์หลายต่อหลายครั้งจากครูเพลงหลายคนเพื่อให้เพลงชาติไทยนั้นสื่อถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาติให้มากที่สุดและเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยด้วย เพลงชาติไทยจึงมีการปรับปรุงอีกหลายครั้งกว่าจะมีเพลงชาติไทยที่สร้างความภาคภูมิใจในปัจจุบันค่ะ  วันนี้เราจะมาพูดถึงการประพันธ์เพลงชาติไทยค่ะว่าใครเป็นผู้ประพันธ์กันบ้างค่ะ
เริ่มจากพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทะกร)  ได้แต่งเพลงชาติไทยขึ้นโดยใช้ทำนองคล้ายคลึงกับเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกยอ(ทำนองเพลงพื้นเมืองของโปแลนด์) และเผยแพร่ครั้งแรกที่พระที่นั่งอนันตสมาคมแต่ไม่ได้เปิดเผยว่าท่านเป็นผู้แต่ง แต่หลังจากที่ได้ทราบว่าท่านเป็นผู้แต่งด้วยสถานการณ์การเมืองในสมัยนั้นพระเจนดุริยางค์ถูกปลอดออกจากราชการ ซึ่งพระเจนดุริยางค์นี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทยค่ะ  ครูเพลงท่านต่อมาคือ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า  กาญจนาคพันธ์) ถือว่าเป็นผู้ประพันธ์คำร้องเพลงชาติฉบับแรกสุด ได้รับการทาบทามจากคณะผู้ก่อการให้แต่งคำร้อง  โดยเนื้อร้องในตอนแรกนั้นยังไม่เป็นทางการ แม้จะได้รับความนิยมจากคนทั่วไปแต่ก็ไม่ได้รับรองให้เป็นเพลงชาติไทยอยู่ดี ต่อมาจึงมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการในพ.ศ. 2476   ในปี พ.ศ. 2477  รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่และมีผลการพิจารณาออกมาว่า ทำนองเพลงให้ใช้ของพระเจนดุริยางค์ที่เป็นทำนองเพลงชาติแบบสากล  บทร้องนั้นใช้ของขุนวิจิตรมาตราซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทร้องชนะเลิศและได้เพิ่มบทร้องของนายฉันท์  ขำวิไลเข้าไปอีกชุดหนึ่ง ใน พ.ศ. 2482 ประเทศสยามได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย และได้จัดประกวดประพันธ์เพลงชาติไทยอีกครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ โดยเนื้อเพลงของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทยโดยแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งมาและเป็นเนื้อเพลงชาติที่ใช้ในปัจจุบันค่ะ นี่คือประวัติของการประพันธ์เพลงชาติไทยแบบย่อๆ จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของการเมืองและสังคมในปัจจุบันค่ะ  ครูเพลงแต่ละท่านกว่าจะประพันธ์เพลงชาติไทยออกมาได้นั้นต้องอาศัยระยะเวลา ความมุมานะในการประพันธ์อย่างมากเลยทีเดียวค่ะ
เมื่อรัฐบาลได้เพลงชาติไทยที่ตรงกับความต้องการแล้วได้มีการร่างแนวปฏิบัติสำหรับธงชาติโดยทั่วไปด้วย นั่นคือ เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลงให้มีการแสดงความเคารพโยการยืนตรง หันหน้าไปทางเสาธงนั้นและในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงจะเห็นหรือไม่เห็นให้แสดงความเคารพโดยหยุดนิ่งในอาการสำรวมค่ะ ซึ่งข้อปฏิบัติเหล่านี้ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบันค่ะ จะเห็นได้ว่าประเทศของเราให้ความสำคัญกับเพลงชาติไทยมากเพราะเป็นสัญลักษณ์ของชาติที่ทุกคนในชาติต้องให้ความเคารพและภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาในผืนแผ่นดินไทยเมืองแห่งประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น