เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย มรดกไทยที่เป็นมากกว่าเพลง
“ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย(…)”
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราๆท่านๆนั้น คุ้นเคยกับข้อความข้างต้นเป็นอย่างดี เพราะเป็นสัญญาณหนึ่งที่เตือนให้เราทราบว่า ได้เวลาหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เพื่อยืนตรงเคารพธงชาติ ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติที่และหลายๆคนคงสงสัยกันว่า เพราะเหตุใด ประเทศไทยถึงกำหนดให้มีการเคารพธงชาติ และร้องเพลงชาติไทยวันละสองเวลา และเพราะเหตุใด เราจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ของประเทศไทยไว้ไม่ให้สูญหายไป

เพลงชาติไทย สัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศ
เพลงชาติไทยฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน ได้ถือกำเนิดขึ้นในพุทธศักราช 2482 ซี่งเป็นปีที่ประเทศสยาม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย” รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพลป.พิบูลสงคราม จึงประสงค์ที่จะให้มีการปรับเปลี่ยนเพลงชาติ เพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องหมายของการพัฒนาทั้งทางสังคมและทางวัฒนธรรมของประเทศ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในแนวทางการหล่อหลอมคนไทยให้รู้สึกรักชาติ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐบาลจึงได้กำหนดให้มีการประกวดการแต่งเพลงชาติไทยขึ้น และในการแข่งขันครั้งนี้ เนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่งประกวดในนามของกองทัพบก เป็นบทประพันธ์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงประกาศให้บทประพันธ์นี้ เป็นเพลงชาติไทย โดยมีการการแก้ไขเล็กน้อยก่อนถูกใช้มาจนถึงทุกวันนี้
ทำไมต้อง 8.00น. กับ 18.00น.
แนวปฏิบัติในการเคารพธงชาติแบบที่เราคุ้นเคยกันนั้น ได้ถูกเริ่มบังคับใช้ราวปี 2485 โดยเป็นส่วนหนึ่งในแผนการรณรงค์เพื่อความเป็น”ชาตินิยม”ของคนไทย ของจอมพลป.พิบูลสงคราม โดยกำหนดให้มีการเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย ในสถานศึกษาและสถานที่ราชการวันละสองเวลา เพื่อแสดงเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย และมอบหมายให้สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานหลักในการเทียบเวลาและเปิดเพลงชาติไทยทางวิทยุและโทรทํศน์
ต่อมาในปี 2519 รัฐบาลสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีการเชิญธงชาติขึ้นเสาเวลา 8.00น. และเชิญธงลงเวลา 18.00น. โดยให้สถานีวิทยุกระจายเสียงฯเป็นผู้เทียบเวลาเช่นเดิม และนับแต่วันนั้น ประเทศไทยจึงมีการเคารพธงชาติวันละสองเวลาจนถึงปัจจุบัน

เพลงชาติไทย มรดกชิ้นสำคัญของคนไทย
นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเทศแล้ว เพลงชาติไทย ยังเป็นแหล่งความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาทางสังคมและการปกครองของชาติ เพราะ “รัฐนิยม” ที่มีการรณรงค์ในสมัยของจอมพลป.พิบูลสงครามนั้น ส่งผลให้คนไทยเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และสามารถผลักดันประเทศให้ก้าวหน้าได้ จึงถือได้ว่า เพลงชาติไทย เป็นอีกหนึ่งรากฐานความเจริญของไทยในทุกวันนี้

เมื่อทราบกันแล้วว่า เพลงชาติไทย ที่เราๆท่านๆรู้จักกันเป็นอย่างดีนั้น เป็นมากกว่าเพลงที่เราได้ยินวันละสองหน เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ ไว้ เพื่อให้ลูกหลานรุ่นของเรา ได้เรียนรู้ความเป็นมาของสังคมไทยต่อไป

บทบาทหน้าที่ของเพลงประจำชาติ

                  ก่อนที่จะมาเป็นเพลงชาติไทยที่เราคุ้นเคยกันถึงปัจจุบันนี้ประเทศไทยเคยนำเพลงสรรเสริญพระบารมีมาใช้เป็นเพลงประจำชาติกันมาก่อนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ระหว่างปี พ.ศ.2431 – 2475 จากนั้นก็ได้มีการแต่งเพลงชาติไทยฉบับแรกในปี พ.ศ. 2475 หลังจากที่ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และได้มีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อร้องจนได้เพลงชาติไทยที่เราได้ยินกันจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนั้นแล้วตั้งแต่เด็กจนโตเราถูกปลูกฝังว่าเมื่อได้ยินเพลงชาติก็ควรหยุดการกระทำอื่นๆและยืนตรงเพื่อทำความเคารพธงชาติ ซึ่งเราทุกคนถือว่าเป็นการแสดงออกถึงความรักและความภาคภูมิใจที่บรรพบุรุษไทยสามารถรักษาเอกราชของประเทศไว้ได้อีกด้วย
                  เนื้อหาของเพลงชาติไทยเต็มเปี่ยมไปด้วยความเคารพรักและความเสียสละของบรรพบุรุษที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งเพลงดังกล่าวประพันธ์โดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ในช่วงปี พ.ศ. 2475  และถึงแม้ว่าตั้งแต่เริ่มมีการเปิดเพลงประจำชาติจะไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติไทยแต่เชื่อว่าการที่คนไทยทุกคนพร้อมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติพร้อมๆกันนั่นก็แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีซึ่งเปรียบเสมือนสายใยที่เชื่อมโยงคนไทยไว้ด้วยกัน นอกจากนี้แล้วจากคำกล่าวที่ว่า “ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราชและความเสียสละของบรรพบุรุษไทย” ยังเป็นประโยคดีๆที่ย้ำเตือนเราอยู่เสมอว่าแผ่นดินที่เรายืนอยู่ทุกวันนี้มาจากการปกป้องเอกราชจากการรุกรานของชาติอื่นๆ ทุกครั้งที่เพลงชาติไทยดังขึ้นมาเราจะได้ยินเนื้อหาของเพลงที่บอกเล่าถึงความเป็นประเทศไทยเอาไว้ด้วย ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวเป็นการเตือนสติให้คนไทยในปัจจุบันได้ตระหนักว่า กว่าจะสร้างประเทศให้เป็นประเทศไทยมาจนถึงทุกวันนี้จะต้องผ่านเหตุการณ์อะไรมาบ้าง และชาวไทยทุกคนควรจะต้องสามัคคีอย่าแตกแยกเพื่อรักษาแผ่นดินไทยให้คงอยู่ตลอดไป และบทบาทหน้าที่ของเพลงชาติไทยก็คือเป็นเพลงหลักของชาติที่จะสามารถหล่อหลอมจิตใจของคนไทยทุกคนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ และยังสามารถสร้างความรู้สึกรักและหวงแหนประเทศชาติได้อีกด้วย เพราะเพลงชาติไทยไม่ใช่เป็นแค่เพียงเพลงที่จะต้องเปิดในเวลาแปดโมงเช้าและหกโมงเย็นของทุกวันเพื่อให้คนไทยได้ยืนตรงในเวลา 1 นาทีเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพลงประจำชาติ เพลงที่เปิดทุกวันเพื่อแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย และยังสามารถปลูกฝังจิตใต้สำนึกดีๆให้คนไทยได้ระลึกถึงว่าเรามีพระมหากษัตริย์ ชาติ ศาสนาและแผ่นดินของเราเอง
เพลงชาติไทยมีเนื้อหาคล้ายไปทางเพลงปลุกใจ ซึ่งเนื้อหาและทำนองดังกล่าวสามารถทำให้คนในชาติเกิดความรู้สึกรักชาติขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นเพลงดังกล่าวจึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเพลงประจำชาติ ซึ่งเราคนไทยก็คงรู้สึกได้ว่าเพลงชาติไทยจะเป็นเพลงที่ทำให้คนไทยไม่แตกแยกและเป็นบทเพลงที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของประเทศไทยได้ดีที่สุดอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น