เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย มรดกไทยที่เป็นมากกว่าเพลง
“ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย(…)”
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราๆท่านๆนั้น คุ้นเคยกับข้อความข้างต้นเป็นอย่างดี เพราะเป็นสัญญาณหนึ่งที่เตือนให้เราทราบว่า ได้เวลาหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เพื่อยืนตรงเคารพธงชาติ ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติที่และหลายๆคนคงสงสัยกันว่า เพราะเหตุใด ประเทศไทยถึงกำหนดให้มีการเคารพธงชาติ และร้องเพลงชาติไทยวันละสองเวลา และเพราะเหตุใด เราจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ของประเทศไทยไว้ไม่ให้สูญหายไป

เพลงชาติไทย สัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศ
เพลงชาติไทยฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน ได้ถือกำเนิดขึ้นในพุทธศักราช 2482 ซี่งเป็นปีที่ประเทศสยาม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย” รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพลป.พิบูลสงคราม จึงประสงค์ที่จะให้มีการปรับเปลี่ยนเพลงชาติ เพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องหมายของการพัฒนาทั้งทางสังคมและทางวัฒนธรรมของประเทศ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในแนวทางการหล่อหลอมคนไทยให้รู้สึกรักชาติ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐบาลจึงได้กำหนดให้มีการประกวดการแต่งเพลงชาติไทยขึ้น และในการแข่งขันครั้งนี้ เนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่งประกวดในนามของกองทัพบก เป็นบทประพันธ์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงประกาศให้บทประพันธ์นี้ เป็นเพลงชาติไทย โดยมีการการแก้ไขเล็กน้อยก่อนถูกใช้มาจนถึงทุกวันนี้
ทำไมต้อง 8.00น. กับ 18.00น.
แนวปฏิบัติในการเคารพธงชาติแบบที่เราคุ้นเคยกันนั้น ได้ถูกเริ่มบังคับใช้ราวปี 2485 โดยเป็นส่วนหนึ่งในแผนการรณรงค์เพื่อความเป็น”ชาตินิยม”ของคนไทย ของจอมพลป.พิบูลสงคราม โดยกำหนดให้มีการเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย ในสถานศึกษาและสถานที่ราชการวันละสองเวลา เพื่อแสดงเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย และมอบหมายให้สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานหลักในการเทียบเวลาและเปิดเพลงชาติไทยทางวิทยุและโทรทํศน์
ต่อมาในปี 2519 รัฐบาลสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีการเชิญธงชาติขึ้นเสาเวลา 8.00น. และเชิญธงลงเวลา 18.00น. โดยให้สถานีวิทยุกระจายเสียงฯเป็นผู้เทียบเวลาเช่นเดิม และนับแต่วันนั้น ประเทศไทยจึงมีการเคารพธงชาติวันละสองเวลาจนถึงปัจจุบัน

เพลงชาติไทย มรดกชิ้นสำคัญของคนไทย
นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเทศแล้ว เพลงชาติไทย ยังเป็นแหล่งความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาทางสังคมและการปกครองของชาติ เพราะ “รัฐนิยม” ที่มีการรณรงค์ในสมัยของจอมพลป.พิบูลสงครามนั้น ส่งผลให้คนไทยเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และสามารถผลักดันประเทศให้ก้าวหน้าได้ จึงถือได้ว่า เพลงชาติไทย เป็นอีกหนึ่งรากฐานความเจริญของไทยในทุกวันนี้

เมื่อทราบกันแล้วว่า เพลงชาติไทย ที่เราๆท่านๆรู้จักกันเป็นอย่างดีนั้น เป็นมากกว่าเพลงที่เราได้ยินวันละสองหน เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ ไว้ เพื่อให้ลูกหลานรุ่นของเรา ได้เรียนรู้ความเป็นมาของสังคมไทยต่อไป

การเดินทางของเพลงชาติไทย

ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนๆ ในโลกใบนี้ จะมีประวัติศาสตร์การเดินทางของประเทศที่น่าจดจำ มีทั้งดินแดนแห่งความสุข ความสงบ  มีดินแดนที่เป็นสีเทาแห่งความมืดมนอนธกาน  มีทั้งคราบเลือด รอยน้ำตาที่รำไห่ให้กับบุคคลที่เสียสละปกป้องความเป็นชาติ ปกป้องผืนแผ่นดิน การเดินทางอย่างยาวนานที่ผ่านทุกสมรภูมิอารมณ์นี้ เป็นการบ่มเพาะให้คนในชาติมีความรู้สึกรัก ผูกพัน และหวงแหนกับประวัติศาสตร์ชาติของพวกเขาเหล่านั้น
ประเทศไทยก็เช่นกัน ประวัติศาสตร์ไทยนับตั้งแต่สุโขทัยที่ผ่านการปกป้องนองเลือดด้วยจิตวิญญาณรักผืนแผ่นดินของบรรพบุรุษ  เสียสละปกป้องหวงแหนชาติไว้ให้คนรุ่นหลัง ผ่านการรวมสรรพกำลังทั้งไพร่ฟ้าประชาชนเพื่อกอบกู้เอกราช มาก่อร่างสร้างกรุง จวบจนเข้าสู่ยุครุ่งเรืองดั่งเช่นสมัยอยุธยา แต่กระนั้นก็ยังไม่ผ่านพ้นช่วงเวลาการทำสงคราม บรรพบุรุษยังคงต้องหมดเลือดหมดเนื้อไปอีกไม่น้อย  และแม้แต่ภายหลังศึกสงคราม ก็ยังต้องมีการทำนุบำรุงความเป็นปึกแผ่น กอบกู้จิตใจคนในชาติ ดังนั้น นอกจากชุดประจำชาติไทย ภาษาไทย การละเล่นหรือการแสดง ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยแล้ว สิ่งหนึ่งที่นำเสนอถึงความภาคภูมิในการปกป้องผืนแผ่นดินไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล โดยบรรพบุรุษที่มีความเสียสละ คือ เพลงชาติไทย โดยการแต่งเพลงประจำชาติไทยนั้นจะว่ามีอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก  โดยเราได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งประเทศอังกฤษ นำเพลง God Save the Queen เป็นเพลงประจำชาติ ในส่วนของชาติไทยใช้ทำนองของเพลง God Save the Queen ของอังกฤษ แต่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ทำการประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่  และตั้งชื่อเพลงในขณะนั้นว่า จอมราชจงเจริญ จึงอาจกล่าวได้ว่า  จอมราชจงเจริญ  คือเพลงชาติเพลงแรกของบ้านเรา
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยด้วยเห็นว่า เราคววรมีเพลงชาติไทยที่เป็นของเราจริงแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้  เพื่อแสดงถึงความเป็นปึกแผ่นของชาติไทยในแบบฉบับของเราเอง คณะครูฯ ได้ให้เพลงทรงพระสุบันหรือเพลงบุหลันลอยเลื่อนมาเป็นทำนองของเพลงชาติ แต่ปรับแต่งอีกเล็กน้อย นี่จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นเพลงชาติไทยเวอร์ชั่นที่สอง และใช้มาประมาณยี่สิบปี ต่อมาจึงเข้าสู่ช่วงเพลงชาติไทยเวอร์ชั่นที่สาม โดยกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ใช้ทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีมาใช้เป็นเพลงชาติ ยาวนานถึงสี่สิบสี่ปี  และเข้าสู่เวอร์ชั่นที่สี่ เป็นการนำทำนองเพลงชาติมหาชัยมาใส่เนื้อร้องโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  หรือ สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เนื้อหาจะมีการบรรเลงเพื่อให้คนไทยในชาติเกิดความสามัคคี
จากนั้นระหว่าง พ.ศ.2475-2477 เข้าสู่ยุคเพลงชาติไทยในเวอร์ชั่นที่ห้า ที่มีพระเจนดุริยางค์ประพันธ์ทำนอง ส่วนขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ประพันธ์คำร้อง  และเข้าสู่เวอร์ชั่นที่หกเมื่อระหว่าง พ.ศ. 2477-2482 ที่มีเพลงชาติฉบับของทางการเป็นฉบับแรก
ส่วนเพลงชาติที่มีเนื้อหาที่เราร้องกันอยู่ในปัจจุบันใช้ครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม  2482 กระทั่ง เป็นการปรับลดให้เวลากระชับขึ้น โดยใช้ทำนองเพลงชาติฉบับของพระเจนดุริยางค์ แต่ใส่คำร้องใหม่ โดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น