เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย มรดกไทยที่เป็นมากกว่าเพลง
“ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย(…)”
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราๆท่านๆนั้น คุ้นเคยกับข้อความข้างต้นเป็นอย่างดี เพราะเป็นสัญญาณหนึ่งที่เตือนให้เราทราบว่า ได้เวลาหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เพื่อยืนตรงเคารพธงชาติ ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติที่และหลายๆคนคงสงสัยกันว่า เพราะเหตุใด ประเทศไทยถึงกำหนดให้มีการเคารพธงชาติ และร้องเพลงชาติไทยวันละสองเวลา และเพราะเหตุใด เราจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ของประเทศไทยไว้ไม่ให้สูญหายไป

เพลงชาติไทย สัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศ
เพลงชาติไทยฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน ได้ถือกำเนิดขึ้นในพุทธศักราช 2482 ซี่งเป็นปีที่ประเทศสยาม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย” รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพลป.พิบูลสงคราม จึงประสงค์ที่จะให้มีการปรับเปลี่ยนเพลงชาติ เพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องหมายของการพัฒนาทั้งทางสังคมและทางวัฒนธรรมของประเทศ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในแนวทางการหล่อหลอมคนไทยให้รู้สึกรักชาติ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐบาลจึงได้กำหนดให้มีการประกวดการแต่งเพลงชาติไทยขึ้น และในการแข่งขันครั้งนี้ เนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่งประกวดในนามของกองทัพบก เป็นบทประพันธ์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงประกาศให้บทประพันธ์นี้ เป็นเพลงชาติไทย โดยมีการการแก้ไขเล็กน้อยก่อนถูกใช้มาจนถึงทุกวันนี้
ทำไมต้อง 8.00น. กับ 18.00น.
แนวปฏิบัติในการเคารพธงชาติแบบที่เราคุ้นเคยกันนั้น ได้ถูกเริ่มบังคับใช้ราวปี 2485 โดยเป็นส่วนหนึ่งในแผนการรณรงค์เพื่อความเป็น”ชาตินิยม”ของคนไทย ของจอมพลป.พิบูลสงคราม โดยกำหนดให้มีการเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย ในสถานศึกษาและสถานที่ราชการวันละสองเวลา เพื่อแสดงเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย และมอบหมายให้สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานหลักในการเทียบเวลาและเปิดเพลงชาติไทยทางวิทยุและโทรทํศน์
ต่อมาในปี 2519 รัฐบาลสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีการเชิญธงชาติขึ้นเสาเวลา 8.00น. และเชิญธงลงเวลา 18.00น. โดยให้สถานีวิทยุกระจายเสียงฯเป็นผู้เทียบเวลาเช่นเดิม และนับแต่วันนั้น ประเทศไทยจึงมีการเคารพธงชาติวันละสองเวลาจนถึงปัจจุบัน

เพลงชาติไทย มรดกชิ้นสำคัญของคนไทย
นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเทศแล้ว เพลงชาติไทย ยังเป็นแหล่งความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาทางสังคมและการปกครองของชาติ เพราะ “รัฐนิยม” ที่มีการรณรงค์ในสมัยของจอมพลป.พิบูลสงครามนั้น ส่งผลให้คนไทยเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และสามารถผลักดันประเทศให้ก้าวหน้าได้ จึงถือได้ว่า เพลงชาติไทย เป็นอีกหนึ่งรากฐานความเจริญของไทยในทุกวันนี้

เมื่อทราบกันแล้วว่า เพลงชาติไทย ที่เราๆท่านๆรู้จักกันเป็นอย่างดีนั้น เป็นมากกว่าเพลงที่เราได้ยินวันละสองหน เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ ไว้ เพื่อให้ลูกหลานรุ่นของเรา ได้เรียนรู้ความเป็นมาของสังคมไทยต่อไป

หนุ่มน้อย ฝรั่ง ร้องเพลงชาติ ฮามาก

หนุ่มน้อย ฝรั่ง ร้องเพลงชาติ ฮามาก




หนูน้อยไอริ 2 ขวบ ร้องเพลงชาติไทย ลูกครึ่งไทยญี่ปุ่น


หนูน้อยไอริ 2 ขวบ ร้องเพลงชาติไทย ลูกครึ่งไทยญี่ปุ่น


สาวน้อย ไทย-สวีเดน ร้องเพลงชาติไทย

                                                   สาวน้อย ไทย-สวีเดน ร้องเพลงชาติไทย


MV เพลงชาติไทย ล่าสุด

MV เพลงชาติไทย ล่าสุด
ธงชาติไทยและ เพลงชาติไทย เป็นสัญญลักษณ์ ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจ ยืนตรงเคารพธงชาติด้วย ความภาคภูมิใจ ในเอกราช และความเสียสละ ของ บรรพบุรุษไทย


ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย 
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงค งไว้ได้ทั้งมวล 
ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด 
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย