เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย มรดกไทยที่เป็นมากกว่าเพลง
“ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย(…)”
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราๆท่านๆนั้น คุ้นเคยกับข้อความข้างต้นเป็นอย่างดี เพราะเป็นสัญญาณหนึ่งที่เตือนให้เราทราบว่า ได้เวลาหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เพื่อยืนตรงเคารพธงชาติ ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติที่และหลายๆคนคงสงสัยกันว่า เพราะเหตุใด ประเทศไทยถึงกำหนดให้มีการเคารพธงชาติ และร้องเพลงชาติไทยวันละสองเวลา และเพราะเหตุใด เราจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ของประเทศไทยไว้ไม่ให้สูญหายไป

เพลงชาติไทย สัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศ
เพลงชาติไทยฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน ได้ถือกำเนิดขึ้นในพุทธศักราช 2482 ซี่งเป็นปีที่ประเทศสยาม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย” รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพลป.พิบูลสงคราม จึงประสงค์ที่จะให้มีการปรับเปลี่ยนเพลงชาติ เพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องหมายของการพัฒนาทั้งทางสังคมและทางวัฒนธรรมของประเทศ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในแนวทางการหล่อหลอมคนไทยให้รู้สึกรักชาติ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐบาลจึงได้กำหนดให้มีการประกวดการแต่งเพลงชาติไทยขึ้น และในการแข่งขันครั้งนี้ เนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่งประกวดในนามของกองทัพบก เป็นบทประพันธ์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงประกาศให้บทประพันธ์นี้ เป็นเพลงชาติไทย โดยมีการการแก้ไขเล็กน้อยก่อนถูกใช้มาจนถึงทุกวันนี้
ทำไมต้อง 8.00น. กับ 18.00น.
แนวปฏิบัติในการเคารพธงชาติแบบที่เราคุ้นเคยกันนั้น ได้ถูกเริ่มบังคับใช้ราวปี 2485 โดยเป็นส่วนหนึ่งในแผนการรณรงค์เพื่อความเป็น”ชาตินิยม”ของคนไทย ของจอมพลป.พิบูลสงคราม โดยกำหนดให้มีการเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย ในสถานศึกษาและสถานที่ราชการวันละสองเวลา เพื่อแสดงเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย และมอบหมายให้สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานหลักในการเทียบเวลาและเปิดเพลงชาติไทยทางวิทยุและโทรทํศน์
ต่อมาในปี 2519 รัฐบาลสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีการเชิญธงชาติขึ้นเสาเวลา 8.00น. และเชิญธงลงเวลา 18.00น. โดยให้สถานีวิทยุกระจายเสียงฯเป็นผู้เทียบเวลาเช่นเดิม และนับแต่วันนั้น ประเทศไทยจึงมีการเคารพธงชาติวันละสองเวลาจนถึงปัจจุบัน

เพลงชาติไทย มรดกชิ้นสำคัญของคนไทย
นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเทศแล้ว เพลงชาติไทย ยังเป็นแหล่งความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาทางสังคมและการปกครองของชาติ เพราะ “รัฐนิยม” ที่มีการรณรงค์ในสมัยของจอมพลป.พิบูลสงครามนั้น ส่งผลให้คนไทยเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และสามารถผลักดันประเทศให้ก้าวหน้าได้ จึงถือได้ว่า เพลงชาติไทย เป็นอีกหนึ่งรากฐานความเจริญของไทยในทุกวันนี้

เมื่อทราบกันแล้วว่า เพลงชาติไทย ที่เราๆท่านๆรู้จักกันเป็นอย่างดีนั้น เป็นมากกว่าเพลงที่เราได้ยินวันละสองหน เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ ไว้ เพื่อให้ลูกหลานรุ่นของเรา ได้เรียนรู้ความเป็นมาของสังคมไทยต่อไป

มีเพลงชาติไทยไว้เพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย

นับได้ว่าเป็นเรื่องที่เคยชินกันแล้ว เมื่อคนไทยได้ยินเสียงเพลงชาติไทย ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆอยู่ก็ต้องหยุด ละจากกิจกรรมเหล่านั้นเพื่อยืนตัวตรงทำความเคารพเพลงชาติไทย เพราะตั้งแต่เด็กจนโตเพลงชาติไทยจะได้มีการแทรกเข้าไปในชีวิตของคนไทยทุกคนตั้งแต่เด็ก โดยในทุกๆเช้าเด็กนักเรียนต้องมีการยืนเคารพธงชาติไทยโดยมีการชักธงขึ้นสู่ยอดเสาเพราะกับการร้องเพลงชาติไทยในทุกๆเช้าก่อนเข้าไปทำกิจกรรมการเรียนการสอน จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อคนไทยทุกคนได้ยินเพลงชาติไทยจากจุดไหนต้องยืนเคารพนั้นเอง เพราะในทุกๆครั้งก่อนทำความเคารพธงชาติต้องมีการกล่าวคำนี้เสมอๆ “ธงชาติและเพลงชาติไทย คือสัญลักษณะของความเป็นไทย เราทุกคนควรยืนตรงเคารพธงชาติ เพื่อเอกราชและความเสียสละของบรรพบุรุษไทย” ซึ่งเป็นคำกล่าวที่เราได้ยินกันคุ้นหูและสามารถปลูกจิตสำนึกรักชาติไทยได้อย่างดีเยี่ยม
วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2485 ประเทศไทยได้มีการกำหนดให้มีการยืนตรงเคารพธงชาติอย่างเป็นทางการโดยทุกวันเวลา 8.00น. และ18.00 น. เพื่อเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาร์และนำธงชาติลงจากยอดเสาร์ในทุกๆวัน เพลงชาติไทยได้ถูกแต่งขึ้นมาหลายต่อหลายเพลงจนกว่าจะได้เพลงชาติไทยที่สื่อความหมายได้สอดคล้องและมีเอกลักษณ์จนเป็นที่ยอมรับและใช้กันมาจนถึงปัจจุบันเพลงชาติไทยหากเราสังเกตุจะพบว่าเนื้อหา ทำนอง หารไล่เสียงนั้น เพลงชาติไทยจะมีเอกลักษณ์เป็นเพลงที่สั้นกว่าเพลงชาติอื่นๆและได้รวบรวมไว้ซึ่ง ความหมายที่สำคัญเอาไว้ทั้งหมดไว้ในเพลง โดยเพลงชาติไทยมีการร้องในทำนองที่ที่โทนเสียงต่ำไปหาสูง นั้นหมายถึงการปลุกนะดมให้ไทยมีความเป็นชาตินิยมเนื่องจากสมัยนั้น เป็นยุคของจอมพล ป.ต้องการที่จะปลุกความหึกเหิ้มและรักชาติ รวมไปจนถึงเนื้อหาของเพลง จะมีการกล่าวถึงความยากลำบากของบรรพบุรุษ ที่มีความลำบากต้องเสียเลือดเพื่อปกป้องชาติให้คนไทยได้มีแผ่นดินอยู่อาศัย มีความเป็นเอกราช ซึ่งเพลงชาติไทยจะได้บอกถึงความน่าภาคภูมิใจในความเป็นไทย กว่าจะได้เป็นประเทศเอกราชต้องมีความอดทนมีความสามัคคีให้หมู่เพื่อนฟ้องและคนไทยก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขตราบชั่วรุ่นลูกหลาน
นอกจากนี้ยังได้มีการนำเพลงไทยมาใช้เพื่อประกอบกิจกรรมต่างๆอย่างเช่นการแข่งขันกีฬาก็ได้มีการนำเพลงไทยมาเปิดเพื่อเป็นเอกลักษณ์สัญลักษณ์ของคนไทย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่คนได้ได้ฟังเพลงชาติไทยในทุกวัน เพื่อเป็นการรำลึกถึงบรรพบุรุษที่ท่านได้สละเลือดเพื่อปกป้องชาติไทย โดยรำลึกและภาคภูมิใจทุกครั้งในความเป็นไทยที่ไม่ได้มีชนชาติใดมาข่มขี่ข่มเหงได้ เพราะบรรพบุรุษได้ปกป้องรักษาแผ่นดินไทยเพื่อให้คนไทยทุกคนได้อาศัย การร้องเพลงชาติและเคารพเพลงชาติจึงเป็นสิ่งที่ดีควรแก่การปฏิบัติสืบไปในอนาคต ลูกหลานจะได้เข้าใจในความเป็นไทยและร่วมกันรักษาความเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามของคนไทยไว้สืบไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น